องค์การบริหารส่วนตำบลจอหอ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา : www.joho.go.th

 
 
คู่มือหรือแนวทางการให้บริการสำหรับผู้รับบริการหรือผู้มาติดต่อ


การขออนุญาตก่อสร้างอาคารตามมาตรา 21

    รายละเอียดข่าว

คู่มือสำหรับประชาชน: การขออนุญาตก่อสร้างอาคารตามมาตรา 21
หน่วยงานที่รับผิดชอบ: องค์การบริหารส่วนตำบลจอหอ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
กระทรวง: กระทรวงมหาดไทย
 

1.      ชื่อกระบวนงาน: การขออนุญาตก่อสร้างอาคารตามมาตรา 21
2.        หน่วยงานเจ้าของกระบวนงาน: องค์การบริหารส่วนตำบลจอหอ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
3.      ประเภทของงานบริการ: กระบวนงานบริการที่ให้บริการในส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น (กระบวนงานบริการที่เบ็ดเสร็จในหน่วยเดียว)       
4.      หมวดหมู่ของงานบริการ: อนุญาต/ออกใบอนุญาต/รับรอง    
5.      กฎหมายที่ให้อำนาจการอนุญาต หรือที่เกี่ยวข้อง:
1) พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. 2522
 
6.      ระดับผลกระทบ: บริการที่มีความสำคัญด้านเศรษฐกิจ/สังคม 
7.      พื้นที่ให้บริการ: ท้องถิ่น     
8.      กฎหมายข้อบังคับ/ข้อตกลงที่กำหนดระยะเวลา พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ,กฏกระทรวงข้อบัญญัติท้องถิ่น และประกาศกระทรวงมหาดไทยที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 
ระยะเวลาที่กำหนดตามกฎหมาย / ข้อกำหนด ฯลฯ             45 วัน
9.      ข้อมูลสถิติ
     จำนวนเฉลี่ยต่อเดือน 0    
     จำนวนคำขอที่มากที่สุด
     จำนวนคำขอที่น้อยที่สุด
10.  ชื่ออ้างอิงของคู่มือประชาชน การขออนุญาตก่อสร้างอาคารตามมาตรา 21 อบต.จอหอ  
11.  ช่องทางการให้บริการ      
1) สถานที่ให้บริการ องค์การบริหารส่วนตำบลจอหอ
105 หมู่ 12 .จอหอ อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30004
โทรศัพท์ 0 4437 2079 ต่อ 11
www.joho.go.th/ติดต่อด้วยตนเอง ณ หน่วยงาน
ระยะเวลาเปิดให้บริการ เปิดให้บริการวัน จันทร์ ถึง วันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดที่ทางราชการกำหนด) ตั้งแต่เวลา 08:30 - 16:30 . (มีพักเที่ยง)
หมายเหตุ -
 
12.  หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข(ถ้ามี) ในการยื่นคำขอ และในการพิจารณาอนุญาต
ผู้ใดจะก่อสร้างอาคารต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องตรวจพิจารณาและออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบภายใน 45วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอ ในกรณีมีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลา ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกิน 2คราว คราวละไม่เกิน 45วัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละคราวให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลา หรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้นั้นแล้วแต่กรณี


 
13.  ขั้นตอน ระยะเวลา และส่วนงานที่รับผิดชอบ
ที่ ประเภทขั้นตอน รายละเอียดของขั้นตอนการบริการ ระยะเวลาให้บริการ ส่วนงาน / หน่วยงานที่รับผิดชอบ หมายเหตุ
1) การตรวจสอบเอกสาร
 
ยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร พร้อมเอกสาร
 
1 วัน - (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่ที่จะขออนุญาตก่อสร้างอาคาร)
2) การพิจารณา
 
เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบพิจารณาเอกสารประกอบการขออนุญาต
 
2 วัน - (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่ที่จะขออนุญาตก่อสร้างอาคาร)
3) การพิจารณา
 
เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองตรวจสอบสถานที่ก่อสร้างจัดทำผังบริเวณแผนที่สังเขปตรวจสอบกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่องเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ เขตปลอดภัยทางทหาร ฯ และ พรบ.จัดสรรที่ดิน ฯ 7 วัน - (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่ที่จะขออนุญาตก่อสร้างอาคาร)
4) การลงนาม/คณะกรรมการมีมติ
 
เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจพิจารณาแบบแปลนและพิจารณาออกใบอนุญาต (อ.1) และแจ้งให้ผู้ขอมารับใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร (น.1) 35 วัน - (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่ที่จะขออนุญาตก่อสร้างอาคาร)
ระยะเวลาดำเนินการรวม   45 วัน
 
14.  งานบริการนี้ ผ่านการดำเนินการลดขั้นตอน และระยะเวลาปฏิบัติราชการมาแล้ว  
ยังไม่ผ่านการดำเนินการลดขั้นตอน
 
15.  รายการเอกสารหลักฐานประกอบการยื่นคำขอ
15.1) เอกสารยืนยันตัวตนที่ออกโดยหน่วยงานภาครัฐ
ที่ รายการเอกสารยืนยันตัวตน หน่วยงานภาครัฐผู้ออกเอกสาร จำนวนเอกสาร
ฉบับจริง
จำนวนเอกสาร
สำเนา
หน่วยนับเอกสาร หมายเหตุ
1) บัตรประจำตัวประชาชน - 0 1 ฉบับ (กรณีบุคคลธรรมดา)
2) หนังสือรับรองนิติบุคคล - 0 1 ชุด (กรณีนิติบุคคล)
 
 
15.2) เอกสารอื่น ๆ สำหรับยื่นเพิ่มเติม
ที่ รายการเอกสารยื่นเพิ่มเติม หน่วยงานภาครัฐผู้ออกเอกสาร จำนวนเอกสาร
ฉบับจริง
จำนวนเอกสาร
สำเนา
หน่วยนับเอกสาร หมายเหตุ
1) แบบคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร  (แบบ ข. 1) - 1 0 ชุด -
2) โฉนดที่ดิน น.ส.3 หรือ ส.ค.1 ขนาดเท่าต้นฉบับทุกหน้า พร้อมเจ้าของที่ดินลงนามรับรองสำเนา ทุกหน้า  กรณีผู้ขออนุญาตไม่ใช่เจ้าของที่ดินต้องมีหนังสือยินยอมของเจ้าของที่ดินให้ก่อสร้างอาคารในที่ดิน - 0 1 ชุด (เอกสารในส่วนของผู้ขออนุญาต)
3) ใบอนุญาตให้ใช้ที่ดินและประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม หรือใบอนุญาตฯ ฉบับต่ออายุ หรือใบอนุญาตให้ใช้ที่ดินและประกอบกิจการ (ส่วนขยาย) พร้อมเงื่อนไขและแผนผังที่ดินแนบท้าย (กรณีอาคารอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม) - 1 0 ชุด (เอกสารในส่วนของผู้ขออนุญาต)
4) กรณีที่มีการมอบอำนาจ ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ ติดอากรแสตมป์ ๓๐ บาท พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน หรือหนังสือเดินทางของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ - 1 0 ชุด (เอกสารในส่วนของผู้ขออนุญาต)
5) บัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคลผู้รับมอบอำนาจเจ้าของที่ดิน (กรณีเจ้าของที่ดินเป็นนิติบุคคล) - 0 1 ชุด (เอกสารในส่วนของผู้ขออนุญาต)
6) หนังสือยินยอมให้ชิดเขตที่ดินต่างเจ้าของ (กรณีก่อสร้างอาคารชิดเขตที่ดิน) - 1 0 ชุด (เอกสารในส่วนของผู้ขออนุญาต)
7) หนังสือรับรองของสถาปนิกผู้ออกแบบพร้อมสำเนาใบอนุญาตเป็น                ผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม (กรณีที่เป็นอาคารมีลักษณะ ขนาดอยู่ในประเภทวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม) - 1 0 ชุด (เอกสารในส่วนของผู้ออกแบบและควบคุมงาน)
8) หนังสือรับรองของวิศวกรผู้ออกแบบพร้อมสำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (กรณีที่เป็นอาคารมีลักษณะ ขนาดอยู่ในประเภทวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม) - 1 0 ชุด (เอกสารในส่วนของผู้ออกแบบและควบคุมงาน)
9) แผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน ที่มีลายมือชื่อพร้อมกับเขียนชื่อตัวบรรจง และคุณวุฒิ ที่อยู่ ของสถาปนิก และวิศวกรผู้ออกแบบ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 10 (พ.ศ.2528) - 1 0 ชุด (เอกสารในส่วนของผู้ออกแบบและควบคุมงาน)
10) รายการคำนวณโครงสร้าง แผ่นปกระบุชื่อเจ้าของอาคาร ชื่ออาคาร สถานที่ก่อสร้าง ชื่อ คุณวุฒิ ที่อยู่ ของวิศวกรผู้คำนวณพร้อมลงนามทุกแผ่น          (กรณีอาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ อาคารที่ก่อสร้างด้วยวัสดุถาวรและทนไฟเป็นส่วนใหญ่) กรณีอาคารบางประเภทที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ต้องมีการคำนวณให้อาคารสามารถรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้ ตามกฎกระทรวง กำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคาร และพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2540 ต้องแสดงรายละเอียดการคำนวณ การออกแบบโครงสร้าง - 1 0 ชุด (เอกสารในส่วนของผู้ออกแบบและควบคุมงาน)
11) กรณีใช้หน่วยแรงเกินกว่าค่าที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับที่ 6 พ.ศ. 2527 เช่นใช้ค่า fc > 65 ksc. หรือ ค่า fc’ > 173.3 ksc. ให้แนบเอกสารแสดงผลการทดสอบความมั่นคงแข็งแรงของวัสดุที่รับรองโดยสถาบันที่เชื่อถือได้ วิศวกรผู้คำนวณและผู้ขออนุญาต ลงนาม - 1 0 ชุด (เอกสารในส่วนของผู้ออกแบบและควบคุมงาน)
12) กรณีอาคารที่เข้าข่ายตามกฎกระทรวงฉบับที่ 48 พ.ศ. 2540 ต้องมีระยะของคอนกรีตที่หุ้มเหล็กเสริม หรือ คอนกรีตหุ้มเหล็ก ไม่น้อยกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือมีเอกสารรับรองอัตราการทนไฟจากสถาบันที่เชื่อถือได้ประกอบการขออนุญาต - 1 0 ชุด (เอกสารในส่วนของผู้ออกแบบและควบคุมงาน)
13) หนังสือยินยอมเป็นผู้ควบคุมงานของสถาปนิกผู้ควบคุมการก่อสร้างพร้อมสำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ  สถาปัตยกรรมควบคุม (กรณีอาคารที่ต้องมีสถาปนิกควบคุมงาน) - 1 0 ชุด (เอกสารในส่วนของผู้ออกแบบและควบคุมงาน)
14) หนังสือยินยอมเป็นผู้ควบคุมงานของวิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้างพร้อมสำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (กรณีอาคารที่ต้องมีวิศวกรควบคุมงาน) - 1 0 ชุด (เอกสารในส่วนของผู้ออกแบบและควบคุมงาน)
15) แบบแปลนและรายการคำนวณงานระบบของอาคาร ตามกฎกระทรวง  ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) - 1 0 ชุด (เอกสารที่ต้องยื่นเพิ่มเติมสำหรับกรณีเป็นอาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ)
16) หนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของวิศวกรผู้ออกแบบระบบปรับอากาศ - 1 0 ชุด (เอกสารที่ต้องยื่นเพิ่มเติมสำหรับกรณีเป็นอาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ)
17) หนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของวิศวกรผู้ออกแบบระบบไฟฟ้า - 1 0 ชุด (เอกสารที่ต้องยื่นเพิ่มเติมสำหรับกรณีเป็นอาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ)
18) หนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของวิศวกรผู้ออกแบบระบบป้องกันเพลิงไหม้ - 1 0 ชุด (เอกสารที่ต้องยื่นเพิ่มเติมสำหรับกรณีเป็นอาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ)
19) หนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของวิศวกรผู้ออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียและการระบายน้ำทิ้ง - 1 0 ชุด (เอกสารที่ต้องยื่นเพิ่มเติมสำหรับกรณีเป็นอาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ)
20) หนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของวิศวกรผู้ออกแบบระบบประปา - 1 0 ชุด (เอกสารที่ต้องยื่นเพิ่มเติมสำหรับกรณีเป็นอาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ)
21) หนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ของวิศวกรผู้ออกแบบระบบลิฟต์ - 1 0 ชุด (เอกสารที่ต้องยื่นเพิ่มเติมสำหรับกรณีเป็นอาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ)
 
16.  ค่าธรรมเนียม
1) เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกฎกระทรวงฉบับที่ 7 .. 2528 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. 2522
 ค่าธรรมเนียม 0 บาท
หมายเหตุ -  

 
17.  ช่องทางการร้องเรียน
1) ช่องทางการร้องเรียน กรุงเทพมหานคร ร้องเรียนผ่านกรมโยธาธิการและผังเมือง
หมายเหตุ (1. ทางอินเทอร์เน็ต (http://www.dpt.go.th)
2.
ทางโทรศัพท์ (.พระราม 9 : 02-201-8000 , .พระรามที่ 6 : 02-299-4000)
3.
ทาง ไปรษณีย์ (224 .พระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320
   
และ 218/1 .พระรามที่ 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400)
4.
ศูนย์ดำรงธรรม กรมโยธาธิการและผังเมือง (โทร. 02-299-4311-12)
5.
ร้อง เรียนด้วยตนเอง
6. ตู้รับฟังความคิดเห็น (ตั้งอยู่ ณ ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารของราชการ ถนนพระรามที่ 6)
)
2) ช่องทางการร้องเรียน จังหวัดอื่นๆ ร้องเรียนต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
หมายเหตุ ((ผ่านศูนย์ดำรงธรรมประจำจังหวัด ทุกจังหวัด)
3) ช่องทางการร้องเรียน ศูนย์บริการประชาชน สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ ( เลขที่ 1 .พิษณุโลก เขตดุสิต กทม. 10300 / สายด่วน 1111 / www.1111.go.th / ตู้ ปณ.1111 เลขที่ 1 .พิษณุโลก เขตดุสิต กทม. 10300)
 
18.  ตัวอย่างแบบฟอร์ม ตัวอย่าง และคู่มือการกรอก
ไม่มีแบบฟอร์ม ตัวอย่าง และคู่มือการกรอก
 
19.    หมายเหตุ
-
 
วันที่พิมพ์ 29/07/2558
สถานะ รออนุมัติขั้นที่ 2 โดยสำนักงาน ก.พ.ร. (OPDC)
จัดทำโดย องค์การบริหารส่วนตำบลจอหอ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา สถ.มท.
อนุมัติโดย -
เผยแพร่โดย -
 


    เอกสารประกอบ

การขออนุญาตก่อสร้างอาคารตามมาตรา 21
 
    วันที่ลงข่าว
: 20 ส.ค. 2558
    ผู้ลงข่าว : อบต.จอหอ